การเลือกไส้กรองแก๊สและไอระเหย
การเลือกไส้กรองแก๊สและไอระเหย มาตรฐาน EN
มาตรฐานยุโรป EN
ความรุนแรงของแก๊สและไอระเหยโดยทั่วไปจะขึ้นอยู่กับ
- ลักษณะของแก๊สและไอระเหยว่าเป็นพิษมากน้อยเพียงไร
- ชนิดของสารเคมีที่เป็นองค์ประกอบของแก๊สหรือไอระเหยนั้นๆ
- ความเข้มข้นของสารเคมีในอากาศ
- ระยะเวลาการสัมผัสหรือสูดดม
- ลักษณะเฉพาะของแต่ละบุคคล เช่น ความไวต่อกลิ่นและสัมผัส อัตราการหายใจของแต่ละคน
ประเภทไส้กรองแก๊สและไอระเหย
A-FILTER
สำหรับป้องกันไอสารอินทรีย์ ที่มีอุณหภูมิมากกว่า 65 องศาเซลเซียส ได้แก่ สารเคมีที่มี
- ส่วนประกอบของไฮโดรคาร์บอน เช่น Toluene, Benzene, Xylene, Styrene, Turpentine, Cyclohexane, Carbon Tetrachloride, Trichloroethylene,Thinners
- ไออินทรีย์อื่นๆ เช่น Dimethyl Formamide, Phenol, Furfuryl alcohol, Diacetone alcohol.
- ส่วนประกอบของพลาสติก เช่น Phthalates, phenol resins, epoxy plastics. Polychlorinated Biphenyls as PCB isomers.
B-FILTER
สำหรับป้องกันไอสารอนินทรีย์ เช่น Chlorine, Nitrogen Dioxide, Hydrogen Sulphide (H2S), Hydrogen Cyanide (HCN), Hydrogen Chloride (HCl), Cyanide
compounds, Phosphorus and Phosphoric acid.
E-FILTER
สำหรับป้องกันไอสารอินทรีย์ และไอกรด เช่น Nitric acid, Propionic acid, Sulphur dioxide, Sulphuric acid, Formic acid.
K-FILTER
สำหรับป้องกันแอมโมเนียและผลิตภัณฑ์จากแอมโมเนีย เช่น Methylamine, Ethylamine, Ethylenediamine, Diethylamine.
AX-FILTER
สำหรับป้องกันไอสารอินทรีย์ ที่มีอุณหภูมิต่ำกว่า 65 องศาเซลเซียส ได้แก่Acetaldehyde, Acetone, Butane, Butadiene, Diethyl Ether,
Dichloromethane, Dimethyl Ether, Ethylene Oxide, Methanol,
Methylene Chloride, Methyl Acetate, Methyl Formate, Vinyl
Chloride.
Hg-P3-FILTER
สำหรับป้องกันไอปรอทและไออินทรีย์หรือไออนินทรีย์ที่มีส่วนผสมของปรอท รวมถึงโอโซน
REACTOR-P3 FILTER
สำหรับป้องกันสารกัมมันตรังสีและไออินทรีย์ที่มีส่วนผสมของสารกัมมันตรัง เช่น
Methyl Iodide (เป็นไส้กรองแบบผสมเท่านั้น)
ระดับการกรองของไส้กรอง
ระดับการกรองของไส้กรอง สามารถแบ่งได้ 3 ระดับ ตามความสามารถในการกรองไอสารเคมีเข้มข้นต่างกัน ตามมาตรฐาน EN141
Class 1 : ใช้ในสภาพแวดล้อมที่มีความเข้มข้นสารเคมีในอากาศที่ 1000 ppm (0.1%)
Class 2 : ใช้ในสภาพแวดล้อมที่มีความเข้มข้นสารเคมีในอากาศที่ 5000 ppm (0.5%)
Class 3 : ใช้ในสภาพแวดล้อมที่มีความเข้มข้นสารเคมีในอากาศที่ 10,000 ppm (1%)
* ppm = part per million
Colour Mark | Type | Application | Class | Max allowed gas Concentration | Standard | |
A | Organic gases and vapours (boiling point >65°C) | 1 | 1000 ml/min³ | (0.1 Vol %) | EN141 or EN14387 | |
2 | 5000 ml/min³ | (0.5 vol %) | ||||
3 | 10000 ml/min³ | (1.0 vol %) | ||||
B | Inorganic gases and vapours (not CO) i.e. Chlorine, H2S, HCN. | 1 | 1000 ml/min³ | (0.1 Vol %) | EN141 or EN14387 | |
2 | 5000 ml/min³ | (0.5 vol %) | ||||
3 | 10000 ml/min³ | (1.0 vol %) | ||||
E | Sulphur Dioxide and acidic gases and vapours | 1 | 1000 ml/min³ | (0.1 Vol %) | EN141 or EN14387 | |
2 | 5000 ml/min³ 10000 | (0.5 vol %) | ||||
3 | ml/min³ | (1.0 vol %) | ||||
K | Ammonia and organic ammonia derivatives | 1 | 1000 ml/min³ | (0.1 Vol %) | EN141 or EN14387 | |
2 | 5000 ml/min³ | (0.5 vol %) | ||||
3 | 10000 ml/min³ | (1.0 vol %) | ||||
AX | Organic gases and vapours (boiling point <65°C) | – | gr.1 100 ml/min³ max 40 min gr.1 500ml/min³ max 20 min | EN371 | ||
gr.2 1000 ml/min³ max 60 min gr.2 5000 ml/min³ max 20 min | ||||||
NO-P3 | Nitrogen Oxides e.g. NO, NO2, NOX | – | Maximum allowed time of use 20 minutes | EN141 or EN14387 | ||
Hg-P3 | Mercury Vapours | – | Maximum allowed time of use 50 hours | EN141 or EN14387 | ||
CO | Carbon Monoxide | – | Local guide lines | DIN 3181 | ||
Reactor P3 | Radioactive Iodine | – | Local guide lines | DIN 3181 |
fShare
ความแตกต่าง Cartridges vs. Canisters
ความแตกต่าง Cartridges vs. Canisters
- ปริมาณวัสดุดูดซับ(Sorbent Volume)
พื้นฐานความแตกต่างระหว่างตลับ catridge และ canisters คือปริมาณการ บรรจุวัสดุดูดซับ(sorbent)ไม่ใช่การใช้งาน. ตลับ catridge มีองค์ประกอบที่ขจัดไอและก๊าซที่อาจใช้ได้ลำพังหรือเป็นคู่ในหน้ากากครึ่งหน้าหรือเต็มหน้า แต่ปริมาณวัสดุดูดซับของตลับ catridge จะมีขนาดเล็ก ประมาณ 50-200 cm3 ดังนั้นจึงมีอายุการใช้งานสั้นโดยเฉพาะในก๊าซหรือไอที่มีความเข้มข้นสูง. ดังนั้นการใช้อุปกรณ์ช่วยหายใจกับตลับ catridge โดยทั่วไปจะจำกัดความเข้มข้นก๊าซหรือไอไว้ต่ำ ผู้ใช้ควรจะพิจารณาถึงคำแนะนำของ NIOSH,ป้ายกำกับรับรองหรือมาตรฐานเฉพาะที่กำหนดไว้โดยหน่วยงานที่กำกับดูแล
Canisters มีวัสดุดูดซับ(sorbent)ปริมาณมาก และอาจติดอยู่บริเวณคาง, ด้านหน้าหรือหลังหน้ากาก หน้ากากที่ใช้กับ canisters สามารถใช้กับไอหรือก๊าซที่มีความเข้มข้นสูงได้ (ระดับที่อันตรายมากต่อชิวิตหรือสุขภาพ) กว่าตลับ catridge
สำหรับ Canisters แบบที่ติดกับคาง โดยทั่วไปจะมีปริมาณวัสดุดูดซับ ประมาณ 250-500 cm3 และจะใช้งานกับหน้ากากแบบเต็มหน้า ส่วน Canisters แบบติดบริเวณด้านหน้าหรือด้านหลัง จะพกพาโดยการใช้สายสะพายและใช้ท่อหายใจมายึดกับหน้ากาก จะจัดขึ้นในสถานที่โดยเทียมและเชื่อมต่อกับ facepiece ซึ่ง canister แบบนี้จะมีปริมาณวัสดุดูดซับ ปริมาณ 1000-2000 cm3.
หน้ากากแบบใช้ canister นี้ถือว่าเป็น “หน้ากากกันก๊าซ” ซึ่งหน้ากากแบบนี้จะได้รับการรับรองสำหรับใช้กับก๊าซโดยเฉพาะ ซึ่งแตกต่างตลับ catridge กันสารเคมี คือ ปริมาณวัสดุดูดซับที่มากกว่า และการป้องกันก๊าซและไอที่มีความเข้มข้นสูงกว่าได้
- โครงสร้างตลับ (Construction)
ประเภทของวัสดุดูดซับ sorbent ที่พบใน cartridge และ ตลับ canisters สำหรับใช้กับสารเคมีโดยเฉพาะอาจแตกต่างกันไปตามผู้ผลิต อย่างไรก็ตามโครงสร้างของตัวตลับ cartridge และ ตลับ canisters มีความแตกต่างกันเพียงเล็กน้อย โดยมีพื้นฐานเดียวกันคือให้มีความหนาของวัสดุดูดซับเพียงพอ และมีปริมาณเพื่อให้แน่ใจว่า 1) สามารถขจัดสารปนเปื้อนได้หมดในเวลาที่ระบุในการทดสอบ 30 CFR 11 และ 2) วัสดุดูดซับยังสามารถใช้งานได้
- การทดสอบตามมาตรฐาน CBRN
การทดสอบ Cartridges และ Canisters ที่ผ่านตามมาตรฐาน CBRN จะทดสอบที่อุณหภูมิห้อง 25°C ± 2.5°C และความชื้นสัมพัทธ์ที่ 25% ± 2.5% และ 80% ± 2.5%
การทดสอบจะทดสอบที่เวลา 15,30,60,90 และ 120 นาที โดย Canister จะทดสอบที่อัตราลม 115 lpm และ cartridge ที่อัตราลม 170 lpm ซึ่งอัตราลมนี้จะแบ่งออกตามจำนวนตลับที่ใช้ในสภาพแวดล้อมนั้น โดยประสิทธิภาพของ Cartridge และ Canister ต้องเป็นไปตามตารางนี้
สารเคมีที่ทดสอบ | Canister | Cartridge | ||
ความเข้มข้นสาร (ppm) | ความเข้มข้นที่ให้ผ่านได้ (ppm) | ความเข้มข้นสาร (ppm) | ความเข้มข้นที่ให้ผ่านได้ (ppm) | |
Ammonia | 2,500 | 12.5 | 1,250 | 12.5 |
Cyanogen chloride | 300 | 2 | 150 | 2 |
Cyclohexane | 2,600 | 10 | 1,300 | 10 |
Formaldehyde | 500 | 1 | 250 | 1 |
Hydrogen cyanide | 940 | 4.7* | 470 | 4.7* |
Hydrogen sulfide | 1,000 | 5.0 | 500 | 5.0 |
Nitrogen dioxide | 200 | 1 ppm NO2 or 25 ppm NO† | 100 | 1 ppm NO2 or 25 ppm NO† |
Phosgene | 250 | 1.25 | 125 | 1.25 |
Phosphine | 300 | 0.3 | 150 | 0.3 |
Sulfur dioxide | 1,500 | 5 | 750 | 5 |
* Sum of HCN and C2N2 | ||||
† Nitrogen Dioxide breakthrough is monitored for both NO2 and NO. The breakthrough is determined by which quantity, NO2 or NO, reaches breakthrough first. |